แคม เปญการประชาสัมพันธ์ที่ดีในงานออนไลน์นั้น นอกจาก งบประมาณก้อนใหญ่ที่คุณต้องทุ่มไปกับการโฆษณาแล้ว สิ่งที่คุณต้องการเช่นเดียวกัน คือหน้า โฆษณาปลายทางที่มีคุณภาพ
หน้าโฆษณาที่ ‘ใช่’ คือสูตรสำเร็จของงานออนไลน์
แคมเปญการประชาสัมพันธ์ที่ดีในงานออนไลน์นั้น นอกจากงบประมาณก้อนใหญ่ที่คุณต้องทุ่มไปกับการโฆษณาแล้ว สิ่งที่คุณต้องการเช่นเดียวกัน คือ หน้าโฆษณาปลายทางที่มีคุณภาพ หรือ Landing Page ที่ตอบโจทย์ ซึ่งเป็นเสมือน ‘จิ๊กซอร์ชิ้นสุดท้าย’ ที่คอยทำหน้าที่เชื่อมโยงการโฆษณาให้เกิดประสิทธิภาพและความสำเร็จของแคมเปญการประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธิผล โดยไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในหน้าเพจแรกเท่านั้น แต่อาจเป็นหน้าเพจไหนก็ได้ภายในเว็ปไซท์ของคุณ
แต่อะไรที่เรียกว่าหน้าโฆษณาที่ดี? อย่างไรจึงจะเรียกว่าได้ผล? วันนี้เราจะมาบอกเล่าเกี่ยวกับการออกแบบและโครงสร้างของเว็บไซต์ รวมถึงเรื่องต่างๆ ในแง่มุมทางด้านเทคนิค (โดยเฉพาะเรื่องความเร็วในการโหลดหน้าเพจ)
1. ออกแบบดี มีชัยไปกว่าครึ่ง - หลักของการเพิ่มประสิทธิภาพการออกแบบของหน้าโฆษณา
จุดแรกที่ควรคำนึง คือ การสำรวจดูเว็ปไซท์ของคุณในส่วนต่างๆ ว่าองค์ประกอบโดยรวมของเว็บไซต์ ทั้งการวรรคตอนของข้อความ รูปภาพ หรือการใช้งานของแบบฟอร์มการลงทะเบียน เป็นไปตามจุดประสงค์ของคุณหรือไม่ ถ้าไม่! ก็ไม่เหมาะที่จะมีหน้าโฆษณาปลายทาง หรือ Landing Page เพราะถือเป็นส่วนที่ไร้ประโยชน์ต่อเว็ปไซท์ของคุณ
ตัวอย่างเช่น ในอดีตนั้น มันเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่จะเผยแพร่ข่าวต่างๆ ของบริษัทบนหน้าหลักของเว็บไซต์องค์กร หลายคนคงจำได้ว่า เรามักจะเห็นข้อความบนหน้าแรกของเว็ปไซท์ในประชาสัมพันธ์องค์กร ที่แจ้งต่อผู้เข้าเยี่ยมชมว่า "ผู้พัฒนาเว็ปไซท์ที่ไว้ใจได้" ที่ประชาสัมพันธ์ว่ากลุ่มบริษัทได้ชนะการประมูลในการสร้างศูนย์ธุรกิจแห่งใหม่
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ข่าวประเภทนี้จะเป็นประโยชน์ และจะเป็นที่น่าสนใจแน่นอน แต่มันควรจะถูกนำไปไว้ยังแพลตฟอร์ม ที่แยกไว้ให้เป็นข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง บางทีอาจจะดีกว่าหากจะใช้เป็นรูปภาพที่สามารถคลิ้กได้ไว้ให้เต็มพื้นที่ในหน้าแรก และให้มีตัวหนังสือที่น่าสนใจเพียงเล็กน้อยไว้แบ่งประภทเป็นเรื่องๆ รวมถึงการรีวิว หรือเรื่อง ‘เคล็ดลับน่ารู้’ ต่างๆ นั้นก็สามารถรวมไว้เป็นรูปแบบของข้อความ ซึ่งไม่ค่อยถูกนำไปไว้ในรูปแบบอื่น ๆ
การอัพเดทข้อมูลข่าวสารการโฆษณาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบของข้อความบนหน้าเว็ปไซท์ถือเป็นเรื่องปกติ จริงๆ แล้วอาจจะเรียกได้ว่าจำเป็นเลยทีเดียว แต่สิ่งที่ควรทำเป็นประจำยิ่งกว่านั้น คือ ควรคำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัท หรือ จุดมุ่งหมายทางธุรกิจ เพราะการดำเนินการต่างๆ บนเว็ปไซท์นั้นต้องคิดอย่างรอบคอบก่อนที่จะให้ข้อมูลเหล่านี้ไปอยู่บนพื้นที่ในหน้าโฆษณาอันมีค่าของคุณ ควรคำนึงว่า กลุ่มเป้าหมายมีความสนใจที่จะอ่านหรือได้รับประโยชน์หรือไม่? และมันควรจะเป็นสิ่งแรกที่ผู้เข้าชมเว็ปไซท์ควรได้เห็นหรือเปล่า?
เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทไมโครซอฟท์ได้มีการยกเครื่องปรับปรุงเว็ปไซท์ครั้งใหญ่ทั้งหมด เพื่อก้าวไปอีกขั้นกับการรองรับการออกแบบใหม่ของ Window 8 โดยสามารถเข้าไปชมได้ที่เว็ปไซท์ Microsoft.com เมื่อเข้าไปในเว็ปไซท์แทนที่เราจะได้เห็นตัวหนังสือหลายสิบหน้านับพันตัวอักษร แต่กลับเปลี่ยนเป็นเน้นหน้าโฆษณาและป้ายแบนเนอร์ขนาดใหญ่ ที่ผ่านการออกแบบที่สวยงามและใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปในการประชาสัมพันธ์ หรือการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ ด้วยการใส่แถบปุ่ม “Try right now” เล็กๆ ไว้ให้คลิ้กในแต่ละแบนเนอร์อีกด้วย
ที่สำคัญ การปรับโฉมใหม่ของแบรนด์ไมโครซอฟท์ (Rebranding) ด้วยการออกแบบที่เรียกว่า Metro-Style (ค้นหาลักษณะการออกแบบดังกล่าวได้จาก Google) ถูกนำมาประยุกต์ใช้แบบเหมาเข่งเพื่อเชื่อมโยงทั้งโครงสร้างของ Windows 8 และแอพพลิเคชั่นของไมโครซอฟท์ด้วย ทั้งระบบถูกจัดวางและออกแบบอย่างเป็นระเบียบ ด้วยรูปแบบสี่เหลี่ยมกริดและแถบบาร์ ซึ่งแน่นอนว่ายังมีบางจุดที่รูปแบบนี้อาจยังไม่เหมาะสมต่อการใช้งานได้ (ยกตัวอย่างเช่น Microsoft Office 2013) ด้วยปัญหานี้เอง ทีมไมโครซอฟท์จึงได้พยายามแก้ไขการเชื่อมโยงให้ราบรื่นทั้งระบบ เพื่อซ่อนองค์ประกอบในส่วนต่างๆ ที่ไม่มีความจำเป็นต่อการปรากฎบนหน้าเว็ปไซท์
แล้วทำไมมันจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับไมโครซอฟท์ ที่จะต้องทุ่มงบไปกับการปรับโฉมแบรนด์ใหม่ (Rebranding) ในรูปแบบ Metro-Style? คำตอบก็คือ บริษัทไมโครซอฟท์มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เข้าใจยาก เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน ง่ายถึงขนาดที่ผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ทางด้านไอทีเลยก็ยังสามารถใช้งานได้ ง่ายถึงขนาดสามารถไปดาวน์โหลดซอฟแวร์ปลอดไวรัสและถูกกฎหมายในราคาเพียง 3 ดอลลาร์ได้เองจาก Window Store รวมถึงง่ายในการติดตั้งไว้บนแท็บเล็ต หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อสนุกไปกับการใช้งานที่ง่ายดายเมื่อสัมผัสหน้าจอ (Touch Screen)
ทำไมรูปแบบใหม่ของ Windows จึงดีกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด?
เรามาเริ่มต้นจากไอเดียของแถบบาร์กันก่อน โดยปุ่มแรกๆ ที่เราเห็น จะใช้ในการคลิกบ่อยมากกว่าการเชื่อมโยงไปยังลิงค์ต่างๆ เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ชมเว็ปไซท์เห็นได้ชัดเจนมากกว่า ซึ่งเป็นความคิดเดียวกันกับการนำคอนเสปต์การสื่อสารด้วยภาพ แล้วนำมาออกแบบให้สวยงามและสร้างสรรค์ เพราะสามารถดึงดูดสายตาผู้อ่านที่เข้าชมเว็ปไซท์ได้ในทันที โดยที่ตัวหนังสือไม่สามารถทำได้
ต่อจากนั้นเราจึงคิดเรื่องการจัดวางข้อมูล สิ่งที่สำคัญที่สุดมักจะอยู่บนสุดเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้แถบเลื่อน
โดยจะสังเกตเห็น หัวเรื่องหลักและหัวเรื่องย่อยต่างๆ ทั่วทั้งหน้าเพจ ซึ่งเรื่องต่างๆ เกือบทั้งหมดล้วนแล้วแต่กระตุ้นให้เกิดการ "อยากรู้อยากเห็น เช่น "ลองโทรแบบวิดีโอเป็นกลุ่มวันนี้ ฟรี 1 เดือน” และอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีแถบปุ่มต่างๆ ที่คุณอาจคุ้นตาปรากฎอยู่ เช่น ปุ่ม "Like", "Tweet", "Share" วางเรียงอยู่เหนือข้อความเหล่านี้ เพื่อง่ายต่อการให้ผู้ที่เข้ามาชมเว็ปไซท์เชื่อมต่อสู่โลกของโซเชียล
แน่นอนว่ารูปแบบการทำงานของบริษัทหนึ่ง อาจไม่เหมาะกับอีกบริษัทหนึ่ง และการสร้างเว็บไซต์เหมือนอย่าง Microsoft ก็ไม่ได้รับประกันว่า คุณจะได้รับการเลื่อนชั้นให้อยู่ในระดับเดียวกับบิลล์เกต แต่มันเป็นการสังเกตุการณ์ที่ควรทำในการศึกษาเว็ปไซท์ของบริษัทชั้นนำ หรือเว็ปไซท์ที่เป็นคู่แข่งทางการค้าของคุณ
2. ลองมาดูทางด้านเทคนิคกันซักนิด
ถ้าหน้าเพจต่างๆ แสดงผลช้า หรือผู้เข้าชมถูกบังคับให้กรอกข้อมูลจำนวนมากเกินไป ก่อนที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมหรือโปรโมชั่นต่างๆ ผู้ชมเว็ปไซท์อาจจะกล้าๆ กลัวๆ แล้วออกจากหน้าเพจไปดื้อๆ ได้ง่ายๆ ไม่ว่าการออกแบบจะสวยหรูอลังการสักแค่ไหนก็ตาม ดังนั้น คุณควรเริ่มต้นสำรวจแต่ละเว็ปเพจของคุณว่ามีอะไรที่ทำให้ลูกค้าดีๆ หนีหายหรือไม่?
โดยเริ่มต้นจากการใช้ตัววิเคราะห์ความเร็วในการโหลด (Goggles) ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเร็วในการโหลดหน้าเพจของคุณ และยังบอกวิธีการที่คุณจะสามารถเพิ่มความเร็วในการโหลดเพิ่มขึ้นอีกด้วย
‘ง่ายเข้าไว้และไม่ซับซ้อน!’ เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็ปไซท์ง่ายต่อการสมัครลงทะเบียน/การเข้าสู่ระบบ การซื้อสินค้า หรือการรับเพิ่มการเป็นสมาชิกในโซเชียล
อีกสิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้ คือ ระบบ SEO ซึ่งเป็นเครื่องมือในการค้นหาคำสำคัญของ "ชื่อ" และ "คำอธิบาย" ที่ลิงค์ไปยังหน้าเว็บเพจของคุณ โดยคำสำคัญต่างๆ นี้ จะแสดงเป็นตัวหนาบนหน้าการแสดงผล โดยประโยคหรือคำสำคัญที่เป็นตัวหนานี้ ‘จะโดดเด่นและเตะตา’ ผู้เข้าชม ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มจำนวนการคลิ้กนั่นเอง
ที่เหลือ!...ก็เป็นเรื่องของเทคนิคเฉพาะตัวของคุณ